วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ชีวิตที่เลือกได้


“ยุคแห่งการใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยและการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก กำลังจะหมดลง” แม้ว่าวิทยาการและเทคโนโลยีด้านต่างๆ ของโลกจะพัฒนาและก้าวหน้าไปมาก เราสามารถติดต่อและทำธุรกิจกับผู้คนในอีกซีกโลกได้เพียงปลายนิ้ว การเดินทางหรือท่องเที่ยวไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่นๆนอกโลกมิใช่เป็นเพียงความฝัน แต่ทั่วโลกก็ยังคงพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก การปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจทัวโลกเติบโตกันแบบก้าวกระโดดทรัพยากรธรรมชาติทางธรรมชาติไม่ว่าป่าไม้หรือพลังงานรูปแบบต่างๆ ที่ธรรมชาติสร้างสมมาเป็นเวลานับล้านปี ถูกนำมาใช้กันเป็นจำนวนมหาศาลทุกวินาทีที่มีดำเนินชีวิตผู้คนในอดีตทรัพยากรต่างๆ มีเป็นจำนวนมาก รูปแบบในการพัฒนาของแต่ละประเทศทั่วโลกจึงเป็นไปในแนวเดียวกันคือพึ่งพาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นหลัก เช่นแต่ก่อนนำมันเชื้อเพลิงมีราคาถูกภาครัฐก็เร่งการสร้างถนนหนทาง และทางด่วน ส่วนภาคอุตสาหกรรมก็เร่งผลิตรถยนต์ส่วนบุคคลที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก แทนที่จะวางแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและระบบสาธารณะ ทำให้วันนี้แม้ถนนหนทางจะถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากแต่ก็ไม่เพียงพอที่จะให้รถยนต์วิ่งกัน เกิดปัญหาจราจรตามมา ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับปัญหามลพิษจากเครื่องยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ประเทศเราก็เป็นอีกประเทศหนึ่งซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาประเทศเช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วและกำลังพยายามแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ แม้เราจะมีทรัยากรด้านป่าไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหารอย่างพอเพียง แต่ทรัพยากรในด้านพลังงานของเรามีน้อยมาก และไม่เพียงพอสำหรับการใช้ภายในประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ในปัจจุบันมูลค่าการนำเข้าพลังงานสูงกว่าการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรถึง 4 เท่า โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมซึ่งต้องพึ่งพาการใช้พลังงานสิ้นเปลืองเช่น น้ำมัน ถ่านหิน เป็นหลัก เมื่อเกิดวิกฤติด้านพลังงาน อย่างเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ราคาของน้ำมันและถ่านหินเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ราคาของผลผลิตปรับเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก จึงจำต้องพากันปิดตัวลง ทุกวันนี้มีโรงงานที่ปิดตัวลงเพราะไม่สามารถแบกรับต้นทุนด้านพลังงานนับพันแห่ง จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทำให้ทราบว่า พลังงานสำรองน้ำมันของโลกมีให้ใช้กันอีกเพียง 30 กว่าปี ก๊าซธรรมชาติประมาณ 60 ปี และถ่านหินอีกประมาณ 200 ปี ในขณะที่ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานสิ้นเปลืองประเภทต่างๆ ของโลกและประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว อีกไม่นานเราคงจะได้เห็นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลิตรละ 100 บาท
ที่สำคัญพลังงานสิ้นเปลืองต่างๆ ที่เราใช้อยู่ เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่บรรยากาศและส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งทุกคนกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เราทราบหรือไม่ว่าเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นมากมายจนยากที่จะประเมินได้ ไม่ว่าจะเป็นการละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก ส่งผลให้ระดับน้ำในมหาสมุทรและทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่บริเวณชายฝั่งลดน้อยลง กระแสน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนทิศ ฤดูการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้งขึ้น ปัจจัยในการดำเนินชีวิตและอาหารการกินขาดแคลน ฯลฯ
ถึงเวลาหรือยังที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลงวิถีในการดำเนินชีวิตแบบเดิมๆ “ทางเลือกชีวิต” ในอนาคตของเราจะเป็นเช่นไร หวังว่าเวทีนี้คงเป็นกระบอกเสียงสู่ผู้บริหารประเทศและประชาชน ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งจะมีบทบาทและมีสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในอนาคตอันใกล้ ฉบับถัดไปจะอธิบายให้ฟังว่า พลังงานทดแทนคืออะไร หาได้จากที่ไหน จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ที่ไหนใช้กันบ้างในประเทศไทย แนวโน้มการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในประเทศ รวมถึงชุมชนแบบอย่างที่พึ่งพาตนเองด้านพลังงานทดแทน

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)


ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก(Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง
วิธีแก้ไขโลกร้อนง่ายๆ

ภาวะโลกร้อน ตอนนี้หลายยๆคนก็คงตระหนักกันดีแล้ว ว่ามันสร้างความเสียหาย และทุกข์ทรมานให้เราแค่ไหน
ในเมื่อโลกมันร้อน เราก็น่าจะมาร่วมกันรณรงค์ หรือเชิญชวนให้ทุกๆคนหันมาช่วยกันปลูกต้นไม้นะ
ทั้งในบ้านเรือน อาคารสำนักงาน และตามหัวไร่ปลายนา ปลูกให้มันร่มครึ้มทุกหย่อมหญ้า โดยที่ภาพรัฐเองน่าจะมี
บทบาทในการให้ข้อมูล ความรู้แก่ประชาชนว่า สถานที่แบบใดเหมาะกับต้นไม้ชนิดไหน เป็นต้นว่า ตามบ้านเรือน อาจ
จะเป็นต้นไม้จำพวกไม้มงคล หรือต้นไม้ประดับแบบไทยๆ หรือไม่ก็ตามทุ่งนาอาจจะแนะนำต้นไม้ที่โตเร็ว ต้นและกิ่ง
ก้านนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกสร้างได้
พร้อมๆกันนั้นก็ขยายกล้าพันธุ์แจกให้เกษตรกรไปด้วย และก็รณรงค์ผ่านสื่อต่างๆอย่างต่อเนื่องและจริงจัง คงไม่สิ้น
เปลืองงบประมาณสักเท่าไหร่หรอก ก็ทีเสียไปกับกล้ายางพาราไปตั้งเยอะแยะยังไม่เห็นเป็นไรเลย
เอาเป็นว่าวิธีนี้ คือวิธีที่ง่ายที่สุดและทำกันได้ทุกคน ดีไหม
แก้ไขโลกร้อนได้! ด้วย 10 วิธีทำให้โลกเย็นลงอย่างพอเพียง

1.ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า หลังเลิกใช้
เหตุผล: ช่วยประหยัดไฟ และทำให้เราไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบัน ถ่านหินคือตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนมากเป็นอันดับ 1
ผลที่ได้รับ: ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้หลายร้อยกิโลกรัมต่อปี และที่สำคัญคือ ต้องถอดปลั๊กไฟออกด้วยทุกครั้ง จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 4,000 บาทต่อปี

2.เปลี่ยน หลอดไส้ เป็นหลอดตะเกียบ
เหตุผล: จะทำให้เราไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบัน ถ่านหิน คือตัวการสำคัญ ที่ ทำให้โลกร้อนมากเป็นอันดับหนึ่ง
ผลที่ได้รับ: การเปลี่ยนเป็นหลอดประหยัดไฟ จะช่วยประหยัดไฟได้ 3-5 เท่า และยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดธรรมดาถึง 10 เท่า เท่ากับลดการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 80 และประหยัดเงินได้ 738 บาทต่อปี ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 295 กิโลกรัมต่อปี

3.ตั้ง อุณหภูมิแอร์ ที่ 25 ‘c
เหตุผล: เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ซึ่งจะทำให้สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
ผลที่ได้รับ:ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 900 กิโลกรัมต่อปี และยังประหยัดพลังงานได้ 2.4 หน่วย

4.ลด ใช้เครื่องทำน้ำร้อน
เหตุผล: เครื่องทำน้ำร้อนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมาก
ผลที่ได้รับ: ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 300 กิโลกรัมต่อปี

5.ติด ฉนวนกันความร้อนในบ้าน
เหตุผล: เพราะการติดตั้งฉนวนกันความร้อน จะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนัก และช่วยประหยัดพลังงาน
ผลที่ได้รับ: จะช่วยประหยัดพลังงานในบ้านได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

6.ปลูกต้นไม้ยืนต้น
เหตุผล: ต้นไม้ 1 ต้น ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของต้นไม้

7.เพิ่ม การใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล
เหตุผล: เพราะในการผลิตกระดาษหรือพลาสติกแบบรีไซเคิล ใช้พลังงานในการผลิตเพียง 50 เปอร์เซ็นต์
ผลที่ได้รับ: การใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล จะช่วยลดปริมาณขยะได้ถึงปีละ 1,450 ตัน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ 1 ตันต่อปี

8.เลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนตัวคนเดียว
เหตุผล: เพราะน้ำมัน คือแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซค์ที่สำคัญ โดยมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40
ทางแก้ไข: ควรจัดระบบ car pool รวมทั้งหันมาใช้จักรยาน รถขนส่งมวลชน หรือเดินให้มากขึ้น เพราะจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 1,000 ตันต่อวัน (ต่อปริมาณรถในกทม. 5.5 ล้านคัน) นอกจากนี้รถขนส่งมวลชนยังมีประสิทธิภาพทางพลังงานมากกว่ารถยนต์ส่วนตัวถึง 3 เท่า และยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 8 เท่าอีกด้วย

9.เลือกซื้อของที่ผลิตในประเทศ
เหตุผล: เพราะการซื้อสินค้าต่างประเทศต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และจัดจำหน่าย
ผลที่ได้รับ: การใช้ของที่ผลิตในประเทศจะช่วยลดค่าหีบห่อและค่าขนส่ง ทำให้สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ที่จะเกิดขึ้น และเงินตราไม่รั่วไหลอีกด้วย

10.กินผักแทนเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น
เหตุผล: การทำปศุสัตว์ คือแหล่งที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ไม่ว่าจะเป็นการแผ้วทางพื้นที่ป่าเพื่อทำฟาร์มปศุสัตว์ หรือ การขับถ่ายของเสียจากสัตว์ ล้วนทำให้เกิดการแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศ ถึง 18 เปอร์เซ็นต์
ผลที่ได้รับ: ถ้าเราลดการผลิตเนื้อสัตว์ทุก ๆ 1 กิโลกรัม จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับคาร์บอนไดออกไซค์ ได้ 3-4 กิโลกรัม
คุณก็ช่วยลดโลกร้อนได้นะครับ
จากแหล่งที่มาของเนื้อหาบางส่านจาก"มติชน"

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าชายฝั่ง ในพื้นที่สาธิตการบรรเทาวิกฤตภาวะโลกร้อน บางปู จังหวัดสมุทรปราการ


ทุ่งกังหันลมหรือ Wind Farm ในพื้นที่สาธิตการบรรเทาวิกฤตภาวะโลกร้อน บางปู จังหวัดสมุทรปราการประกอบไปด้วยกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 5 kW จำนวน 9 ต้น รวมกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ปกติที่ความเร็วลม 11 เมตรต่อวินาที 45 กิโลวัตต์ และสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด 48.6 กิโลวัตต์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งผ่านระบบสายไฟที่ถูกฝังไว้ใต้ดินเพื่อความปรอดภัยและความสวยงาม ไปยังห้องควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ ที่สำคัญเช่น ชุดควบคุมกังหันลม เครื่องแปลงไฟฟ้าแบบเชื่อมต่อสายส่ง ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมและวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบ ซึ่งออกแบบอย่างมาตรฐานเป็นไปตามกฏระเบียบของทางการไฟฟ้าฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ใช้ร่วมกับไฟฟ้าที่ผลิตจากการไฟฟ้าฯ ในกิจการบ้านพักตากอากาศบางปูและในระบบบำบัดน้ำเสีย

สำหรับหลักการทำงานโดยทั่วไปในของกังหันลมผลิตไฟฟ้าก็คือ เมื่อมีลมพัดมาปะทะกับใบพัดของกังหันลม กังหันลมจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมที่อยู่ในรูปของพลังงานจลน์ ไปเป็นพลังงานกลโดยการหมุนของใบพัด แรงจากการหมุนของใบพัดนี้จะถูกส่งผ่านแกนหมุนทำให้เพลาที่ติดอยู่กับแกนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยหลักการนี้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าออกมาได้ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งต่อไปเพื่อใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะการใช้งานคือ แบบอิสระ (Stand Alone System) และแบบเชื่อมต่อสายส่ง (Grid System) โดย Wind Farm ในพื้นที่สาธิตการบรรเทาวิกฤตภาวะโลกร้อน บางปูเป็นแบบเชื่อมต่อสายส่ง (Grid System) ประกอบไปด้วย ใบพัด เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทขับตรง เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าแบบเชื่อมต่อระบบสายส่ง (Grid Type Inverter) โดยจะนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้ร่วมกับไฟฟ้าระบบเดิมหรือที่ซื้อจากทางการไฟฟ้าฯ อย่างต่อเนื่องหรือหากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้มากเกินความต้องการก็อาจติดต่อทางการไฟฟ้าฯ เพื่อขอขายคืนกลับให้การไฟฟ้าฯได้ในอนาคต